ประกายไฟย้ายบ้านไปที่ http://iskragroup.blogspot.com

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

จดหมายถึงเมืองไทย ภาพตัดต่อหกตุลาและภาพตัดต่อคานธี ความเหมือนที่จบต่าง



5 ตุลาคม 2552
New Delhi Republic of India


วันนี้สำหรับคนทั่วๆไปในสังคมไทยวันนี้ก็คงเป็นแค่วันธรรมดาคนหนึ่ง สำหรับสังคมที่ลืมง่ายอย่างสังคมไทยแล้วภาพชาวพุทธคนหนึ่งเอาเก้าอี้หวดไปที่ศพของคนอีกคนหนึ่งอย่างไม่ปราณีปราศัยบริเวณท้องสนามหลวงตรงข้ามวัดพระแก้วสถานที่ศักสิทธิของศาสนาพุทธศาสนาที่ว่ากันว่าสอนถึงความเมตตาคงเป็นภาพที่ถูกลืมไปแล้วพร้อมๆกับตัวเลขในปฎิทินที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ดีสำหรับผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหยื่อในเหตุการณ์หรือผู้รักความธรรมที่ได้ศึกษาประวัติศาตร์การเมืองที่ชุ่มไปด้วยเลือดของรัฐไทย ภาพอันน่าอัปยศนี้คงจะเป็นอะไรที่ลืมไม่ลง จุดเริ่มต้นของการสังหารโหดเมื่อเช้าตรู่วันที่หกตุลานั้นมาจากภาพการแสดงละครล้อระหว่างการประท้วงการกลับเข้าประเทศของพระถนอม จากกรณีการอุ้มฆ่าและแขวนคอสองพนักงานการไฟฟ้าที่ติดโปสเตอร์ประท้วงการกลับมาของพระถนอม ผู้ชุมนุมที่กรุงเทพได้ทำการแสดงละครล้อเพื่อประท้วงการสังหารโหดครั้งนี้ทว่านั่นกลับกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความโหดร้าย ได้มีผู้นำภาพการแสดงละครล้อนั้นเผยแพร่และปลุกระดมว่าผู้ชุมนุมดูหมิ่นบุคคลสำคัญของชาติและต้องการทำลายสถาบันอันเป็นที่เคารพยิ่ง มีการถกเถียงกันต่างๆนานาว่าภาพนี้มีการตัดต่อหรือไม่และถ้ามีการตัดต่อใครเป็นคนทำไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรทว่าภาพเจ้าปัญหานี้ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การนองเลือด จดหมายฉบับนี้ผมคงจะไม่พูดถึง6ตุลาในแง่ประวัติศาสตร์เพราะคงมีคนพูดถึงกันมากแล้วอีกทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งโดยตรงและโดยอ้อมคงจะพูดถึงเรื่องราวต่างๆได้ดีกว่าผมที่ยังคงไม่ได้อยู่บนโลกใบนี้กระทั้ง8ปีหลังเหตุการณ์แต่อย่างไรก็ดีภาพบางภาพที่ผมได้เห็นเมื่อสองสามวันก่อนระหว่างที่กำลังศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียนี้ได้จุดประกายให้ผมเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมา

สองตุลาคมเป็นวันคล้ายวันเกิดของคานธีผู้ที่ ผู้นำการต่อสู้คนสำคัญคนหนึ่งของอินเดียที่ต่อสู้เพื่อการเป็นเอกราชจากอังกฤษจนได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของประเทศ วันเกิดของเขากลายเป็นวันหยุดประจำชาติและใบหน้าของเขาก็ได้ถูกพิมพ์ลงในธนบัตรทุกราคาที่ใช้ในประเทศนี้ จากตรงนี้คงไม่ต้องบอกว่าสำหรับสังคมอินเดียเขาได้รับการยกย่องมากแค่ไหน ทว่าเนื่องจากคานธีเป็นผู้มีหัวอนุรักษ์นิยมเชิงศาสนาและเชื่อมั่นในระบบวรรณะกลุ่มคนชั้นล่างกลุ่มหนึ่งจึงไม่ค่อยชอบใจนโยบายที่อิงศาสนาและมองสังคมผ่านแว่นระบบวรรณะของคานธี เมื่อวันที่สองที่ผ่านมาขณะไปซื้อข้าวที่แคนทีนผมได้เห็นภาพโปสเตอร์ภาพหนึ่งของกลุ่มนักเรียนที่มาจากวรรณะระดับล่างเชิญชวนให้ไปร่วมฟังการเสวนาในหัวข้อว่าคานธีกับความรุนแรงที่มีต่อคนวรรณะล่าง บนโปสเตอร์มีภาพตัดต่อเอาหน้าของคานธีไปวางบนร่างของแรมโบ้กล้ามใหญ่ถือปืนกระบอกโต ที่ร่ายยาวมานี้ดูเหมือนว่ามันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับเหตุการณ์หกตุลาเลย แน่นอนว่าคานธีนั้นไม่ได้เกี่ยวอะไรกับหกตุลาแต่สิ่งที่ผมกำลังจะสื่ออยู่ตรงที่การเปรียบเทียบความเหมือนกันในเหตุการณ์(ภาพตัดต่อ)กับผลลับที่แตกต่างระหว่างที่อินเดียกับไทย

สำหรับอินเดียคนอินเดียโดยส่วนใหญ่มองคานธีอย่างศรัทธาและชื่นชมทว่าเมื่อกลุ่มนักศึกษาที่มีความเห็นต่างทำการติดโปสเตอร์ที่ตัดต่อรูปของคานธีกับแรมโบกลุ่มผู้ที่สนับสนุนคานธีกลับไม่มีการดำเนินการต่อต้านที่รุนแรง ไม่มีการใช้กำลัง เข้าทำร้ายผู้ติดโปสเตอร์หรือเข้าไปทลายการเสวนาของกลุ่ม ตรงจุดนี้นี่เองที่แสดงถึงเสรีภาพในการแสดงออกและการยอมรับความแตกต่างอย่างสันติ สิ่งที่ผู้สนับสนุนคานธีทำคือการติดโปสเตอร์หรือการจัดเสวนาตอบโต้เท่านั้นซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งปกติตามระบบประชาธิปไตยทว่าไม่มีการก้าวล่วงไปสู่การใช้กำลังใดๆทั้งสิ้น สิ่งนี้แหละที่สังคมไทยยังขาดไปนั่นคือการยอมรับความเห็นต่างและเสรีภาพในการแสดงออก แม้ว่าในมุมหนึ่งอินเดียอาจจะดูเป็นสังคมที่ปิดกว่าไทยเช่นด้วยว่ามีปัจจัยด้านศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องดังนั้นเช่นการแต่งกายที่นี่ผู้หญิงดูจะแต่งกายมิดชิดกว่าผู้หยิงไทยหรือด้านความเป็นเมืองและความเจริญทางวัตถุที่อินเดียดูจะล้าหลังแต่ทว่าด้านสิทธิเสรีภาพและการเคารพในความเห็นต่างทางการเมืองเราดูจะล้าหลังกว่าเขาหลายขุม การที่ภาพล้อเลียนคานธีไม่นำไปสู่เหตุการณ์2ตุลาที่นี่ ขณะที่ในไทยภาพละครล้อจากการชุมนุมได้นำไปสู้การเข่นฆ่าที่ทารุณจากน้ำมือของผู้ที่ปาวารณาตนว่าเป็นชาวพุทธผู้มีเมตตาโดยมีสถานที่สำคัญทางศาสนาพุทธเป็นฉากหลังเหตุการณ์ที่มีจุดเริ่มต้นเหมือนกันนี้กลับมีจุดจบที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง

หกตุลาในแง่นึงมันคือประวัติศาสตร์ที่จบไปแล้วแต่หากเรามองอีกมุมหนึ่งหกตุลาก้อยังคงเกิดขึ้นวนเวียนอยู่บ่อยๆที่หลายครั้งหลายคราการแสดงความเห็นต่างได้จบลงด้วยความรุนแรงแม้จะไม่เท่าระดับหกตุลานั่นไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์รูปแบบเดียวกันจะไม่เกิดขึ้นอีก ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองไทยที่กำลังเข้มขึ้นไปทุกขณะในปัจจุบันนี้ถ้าสังคมไทยยังไม่ยอมรับความต่างอย่างสันติเหตุการณ์หกตุลาอาจหวนคืนมาอีกในเวอร์ชันที่รุนแรงกว่าก็เป็นไปได้ สุดท้ายนี้ผมคงขอร่วมไว้อาลัยให้กับเหยื่อหกตุลารวมไปถึงผู้ถูกปราบปรามและสังหารโดยไร้ความอยุติธรรมทุกท่านและขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่สูญเสียคนรัก ผู้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หกตุลารวมไปถึงเหตุการณ์รุนแรงอื่นๆและผู้ที่กำลังตกเป็นจำเลยสังคมเพียงเพราะความเห็นต่างทุกท่านครับหวังว่าฝันร้ายเมื่อปี2519คงจะไม่หวนกลับมาหลอกหลอนสังคมไทยอีกคราหนึ่ง


ด้วยจิตคารวะ
Benjamin Franklin
Comment by แมน ประกายไฟ

หลังจากอ่านจบแล้ว ถ้าผมเข้าใจประเด็นไม่ผิด นำเสนอเรื่องการยอมรับความคิดที่แตกต่างแม้ต่อสิ่งตัวเองเคารพสินะครับ

ผมคิดว่าประเด็นที่เสนอค่อนข้างใช้ได้ดีนะครับ แต่ผมคิดว่าไม่ชอบในบางประโยค ซึ่งผมคิดว่าเป็นการตีขลุมมากเกินไป

เช่นประโยคที่ว่า "...ภาพชาวพุทธคนหนึ่งเอาเก้าอี้หวดไปที่ศพร่างหนึ่งอย่างไม่ปราณีปราศัย..." สามารถเคลมได้จริงหรือเปล่าว่าคนในภาพนั้นเป็นคนที่นับถือพุทธจริงๆ?

ok อาจจะกล่าวว่า เพราะการที่สมัยนั้นมีการเสนอ motto "คอมมิวนิสต์ ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์" และมีการขยายความต่อว่าศาสนาที่แสดงถึงความเป็นไทยคือ ศาสนาพุทธ หรือการกล่าวว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติก็ตาม แต่สามารถเคลมได้จริงหรือเปล่าว่าคนที่ก่อการในวันนั้นทุกคนเป็นคนพุทธ? เมื่อเช่นนั้นก็พูดยากนะครับว่าคนที่ถือเก้าอี้คนนั้นจะนับถือศาสนาอะไร อาจบางทีเขาอาจจะนับถือศาสนาพุทธจริงๆ แต่ถ้าไม่มีหลักฐานเชิงพอมันก็เคลมลำบากนะครับ

แม้ผมจะเห็นด้วยกับการวิพากษ์การชอบเคลมตัวเองของคนไทยว่าเป็นเมืองพุทธ เป็นชาวพุทธ แต่มิได้กระทำให้พึงสอดคล้องกับสิ่งที่เรียกว่าแนวคิดแบบพุทธก็ตาม แต่นั้นคือภาพแบบมหภาค แต่การกล่าวถึงบุคคลแบบย่อยเช่น การบอกว่าคนที่ถือเก้าอี้คนนั้นเป็นพุทธมันก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีหลักฐานเฉพาะตัวกับบุคคลคนนั้นเช่นกันครับ

แถลงการณ์คัดค้านกรณีการจับกุมชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิที่หนองแซง

จากพี่น้องชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากก๊าซธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 1,600 เมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างในพื้นที่ตำบลหนองแซง จังหวัดสระบุรี ได้ชุมนุมปิดถนนสายพหลโยธินตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2552 และได้ยุติการชุมชนในวันที่ 25 กันยายน 2552 เพื่อแสดงตัวตนและสื่อสารต่อสาธารณะของชาวบ้านที่เป็นเหยื่อของการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรมและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ

ทั้งนี้จากข่าวที่เราได้รับทราบนั้นการต่อสู้ของชาวบ้านได้กระทำผ่านกลไกและกระบวนการตามขั้นตอนราชการโดยการยื่นหนังสือร้องเรียน คัดค้านต่อหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในทุกระดับในท้องถิ่นถึงหน่วยงานรัฐในระดับนโยบาย ทั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติละสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ วุฒิสภา การเข้าพบและยื่นหนังสือต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ทำเนียบรัฐบาล แต่คำตอบที่ชาวบ้านได้รับคือการอนุมัติเห็นชอบผ่านรายงาน อี ไอ เอ ของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติในพื้นที่เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุที่ทำให้ชาวบ้านผู้คัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติอำเภอหนองแซงต้องชุมนุมปิดถนน เพื่อรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับนโยบายลงเจรจาปรึกษาหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับชาวบ้าน

แต่ผลที่พี่น้องเราได้รับคือผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีแจ้งความดำเนินคดีข้อหาปิดถนนทางสาธารณะกับแกนนำชาวบ้าน 6 คน คือ นายนพพล น้อยบ้านโง้ง และนายคูณทวี หรือน้อย ซึ่งเป็นแกนนำคัดค้านบ่อกำจัดขยะเบ็ตเตอร์เวิลด์กรีน และนายตี๋ ตรัยรัตนแสงมณี นายสมคิด ดวงแก้ว นางวัชรี เผ่าเหลืองทอง และนายสุปรีดี หรือเปรี้ยง ซึ่งเป็นแกนนำคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง ด้วยพ.ร.บ.ทางหลวง มาตรา 39 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 229 โดยอ้างว่าทำให้ปิดทางสาธารณะอันน่าจะทำให้เกิดเหตุอันตราย และปรากฏว่าพี่น้องเราถุกจับกุมขณะกลับบ้านไปอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า 3 คน คือ นายนพพล น้อยบ้านโง้ง และนายคูณทวี หรือน้อย และนายสุปรีดี หรือเปรี้ยง ไปกักขังโดยไม่ยินยอมให้ประกันตัวอีก ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นว่า

1.การชุมนุมของชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้านั้นเป็นการชุมนุมตามวิถีทางแห่งประชาธิปไตย เพื่อเรียกร้องสิทธิและแสดงออกซึ่งความเห็นต่อสาธารณะ เป็นการชุมนุมโดยสงบ ปราศจากอาวุธอันเป็นเสรีภาพ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 ในมาตราที่ 63 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 ได้รองรับและคุ้มครองไว้

2.การออกหมายจับ ถือเป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญดังที่กล่าวไว้ในข้อ 1 และการออกหมายจับดังกล่าวจึงเท่ากับการยอมรับว่าประเทศไทยไม่ได้ปกครองโดยยึดถือหลักการปกครองโดยกฎหมายเป็นใหญ่ (The Rule of Law) อีกต่อไป เพราะเป็นการยอมให้กฎหมายอาญาและจราจรที่มีฐานะต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ มีผลยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญไปโดยปริยาย

3.การคัดค้านการประกันตัวนั้น ถือเป็นการกระทำที่ขัดกับหลักมนุษยธรรม และหลักนิติธรรม ซึ่งถุกรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับพุทธศักราช 2540 และ 2550 ที่ระบุว่า

มาตรา 26 การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา 40 "...บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม...ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว..."

รวมถึงขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ.1966 (International Covenant on Civil and Political Rights)ซึ่งประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก มีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม ในข้อ 14 ข้อย่อยที่ 3 ซึ่งบัญญัติว่า “ในการพิจารณาคดีอาญา บุคคลทุกคนซึ่งต้องหาว่ากระทำผิดย่อมมีสิทธิที่จะได้รับหลักประกันขั้นต่ำดังต่อไปนี้โดยเสมอภาค

(ก) สิทธิที่จะได้รับแจ้งโดยพลันซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับสภาพและเหตุแห่งความผิดที่ถูกกล่าวหา ในภาษาซึ่งบุคคลนั้นเข้าใจได้

(ข) สิทธิที่จะมีเวลา และได้รับความสะดวกเพียงพอแก่การเตรียมการเพื่อต่อสู้คดี และติดต่อกับทนายความที่ตนเลือกได้”

4.การเพิกเฉยของหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อการเรียกร้องในสิทธิชุมชนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบนั้น ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่าด้วยเรื่องสิทธิชุมชนใน มาตรา 67 โดยเฉพาะการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพนั้น จะต้องมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริงก่อน

เราจึงขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ว่า

1.ดำเนินการเพื่อขอถอนหมายจับแกนชาวบ้านทั้ง 6 คนในทันที

2.ขอให้ระงับการดำเนินการตามโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมจากก๊าซธรรมชาติ ขนาดกำลังการผลิต 1,600 เมกะวัตต์ ที่จะก่อสร้างในพื้นที่ตำบลหนองแซง จังหวัดสระบุรี เสียก่อน เพื่อเปิดให้เกิดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียอย่างแท้จริง

3.รัฐต้องทบทวนนโยบายและความเดือดร้อนต่างๆที่มีผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก โดยเร่งแก้ไขปัญหาอย่างจริงๆจังๆ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้ที่ประสบปัญหาเหล่านั้นเขามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะการโฆษณาหรือการพูดเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วยให้ปัญหามันดีขึ้น

สิ่งที่พี่น้องชาวบ้านที่หนองแซงประสบนั้น ไม่ต่างจากพวกเรา แทนที่รัฐหรือเจ้าหน้าที่จะหันมาแก้ปัญหาอย่างจริงๆจังๆ ตามความต้องการของพวกเขา กลับซ้ำเติมด้วยการออกหมายจับ โดยเฉพาะช่วงนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มตั้งแต่กรณี 3 ผู้นำชุมนุมกรณีเรียกร้องให้รัฐบาลมีการช่วยเหลือเรื่องราคาข้าวนาปรังที่ตกต่ำ ที่เชียงรายถูกที่จำคุก 6 เดือน เมื่อ 23 กรกฎาคม 2552 ต่อด้วยสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน อิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ในเครือ ซึ่งเป็นคนงานบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์(ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิล์ลเวลล์การ์เม้นท์ที่เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของรับบาลบริเวณหน้าทำเนียบและรัฐสภา ในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากได้ได้รับความสนใจจากรัฐบาลแล้วยังถูออกหมายจับ 3 แกนนำ ด้วยข้อหาก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และ 216 เช่นเดียวกับคนขายหวยจากจังหวัดเลยที่มาประท้วงกระทรวงการคลังไม่จัดสรรโควตาสลาก เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552 ที่ผ่านมา และล่าสุดก็กรณีที่พี่น้องชาวบ้านที่หนองแซงประสบ

การกระทำเช่นนี้เป็นการดำเนินการที่ไม่เป็นธรรม มองชาวบ้านและแรงงานที่เดือดร้อนเป็นศัตรูของรัฐบาล กระทำการที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ ลิดลอนสิทธิเสรีภาพ สิทธิพลเมืองของประชาชน เป็นการทำลายความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและได้ปลูกฝังความเกลียดชังรัฐที่ใช้อำนาจทางกฎหมายบีบบังคับชาวบ้านและแรงงานผู้เดือดร้อน ตลอดจนเป็นการกระทำที่สร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนกับรัฐให้กว้างออกไปยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เราจึงเรียกร้องให้ยุติพฤติกรรมดังกล่าวเสียก่อนที่จะไม่มีโอกาสที่จะได้ยุติ

หยุดมองประชาชนเป็นศัตรู เคารพสิทธิของประชาชน ประชาชนต้องมีส่วนร่วม

บัส ประกายไฟ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แถลงการณ์:รถเมล์4,000คันต้องสร้างเป็นรัฐสวัสดิการ และมีประสิทธิภาพ




โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
19 ตุลาคม 2552

แถลงการณ์ การคมนาคมสาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน กรณีรถเมล์NGV 4,000 คันรัฐต้องสร้างเป็นรัฐสวัสดิการ ฟรี ถ้วนหน้า ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ

กลุ่มประกายไฟ
19 ตุลาคม 2552

ในขณะที่เศรษฐกิจของสังคมไทยและสังคมโลกกำลังตกต่ำซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤติเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสมอ รวมทั้งปัญหาวิกฤตพลังงานที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ การคมนาคมขนส่งของประเทศโดยเฉพาะรถเมล์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพฯ

รัฐบาลซึ่งควรมีหน้าที่โดยตรงในการให้หลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสิทธิในการคมนาคมสาธารณะแก่ประชาชน แต่ในความเป็นจริงเวลานี้รัฐบาลกำลังพยายามผลักภาระค่าใช้จ่ายทางการคมนาคม และความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจให้ประชาชนจากการประกาศนโยบายเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐบาลอ้างว่าเพื่อเป็นการลดการขาดทุนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)

การประกาศนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานและผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนในสังคมไทย ดังนี้

1.การใช้ระบบตั๋วอิเล็กโทรนิกส์(E-TICKET)นั้น ก่อให้เกิดการเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุก่อนกำหนดของพนักงานขสมก. ซึ่งมีจำนวนมากถึง 6,000-7,000 คน เพื่อให้ขสมก.มีกำไรตามที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่ต้องการ ซึ่งการเลิกจ้างงานดังกล่าวทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งขาดรายได้ คุณภาพชีวิตแย่ลง อาจลุกลามไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆได้

2.การใช้ระบบตั๋วอิเล็กโทรนิกส์ส่งผลกระทบต่ออัตราค่าโดยสาร ซึ่งจะต้องมีการเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมเพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุนของรัฐบาล และผู้รับภาระอัตราค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นนั้นคือประชาชนส่วนใหญ่ที่มีรายได้ไม่มากนัก รวมทั้งกระทบต่อนโยบายรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ซึ่งรัฐบาลเคยให้การโปรโมตไว้นั้นมีทีท่าว่าจะต้องยุติลง

3.การลดจำนวนพนักงานเก็บเงินและการนำระบบตั๋วอิเล็กโทรนิค(ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินระหว่างขึ้นรถ)มาใช้อาจก่อให้เกิดการจราจรติดขัดมากขึ้น เนื่องจากความล้าช้าในการต่อคิวเพื่อจ่ายเงินค่าโดยสารผ่านระบบตั๋วอิเล็กโทรนิค ที่อาจทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการจอดรับส่งผู้โดยสารในแต่ละป้าย จากทั้งสามประเด็นที่กล่าวมานั้น เราเห็นว่าประชาชนคนรากหญ้าก็จะต้องรับภาระด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของรัฐบาลจึงควรจะมีมาตรการและสวัสดิการรองรับความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่ต้องรับภาระทางเศรษกิจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เราจึงเสนอให้

1.ในส่วนของแรงาน ขสมก. ที่จะได้รับผลกระทบนั้น การที่ ขสมก. จะเลิกจ้างหรือให้เกษียรอายุก่อนกำหนดหรือจะใช้มาตรการใดๆจะต้องคำนึงถึงความสมัครใจเป็นสิ่งสำคัญ และควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงภาครัฐต้องมีมาตรการรองรับคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ที่มิใช่เพียงแค่เงินทดแทน(“ชดเชย”)จากภาครัฐเท่านั้น นอกจากนั้นรัฐจะต้องมีนโยบายการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) การขยายสิทธิประโยชน์ในการประกันรายได้และกาจ้างงานให้ถ้วนหน้าเป็นระบบและครบวงจร ทั้งนี้รวมถึงการรองรับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานที่ต้องออกจากงานก่อนกำหนด

2.การที่รัฐจะออกมาให้ความเห็นว่า “ขสมก ขาดทุนมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่ากำลังที่ ขสมก. จะจ่ายได้ จึงเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องนำงบประมาณมาอุดหนุนปีละกว่า 9,000 ล้านบาท”{1} ถือเป็นการปัดความรับผิดชอบ เพราะการคมนาคมสาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ปกติรัฐจะต้องจัดให้เป็นสวัสดิการ ดังนั้นการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่รัฐมองว่าเป็นภาระนั้นแท้จริงแล้วมันคือหน้าที่ที่รัฐต้องจัดหาให้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว การเอาเรื่องผลกำไรมากล่าวอ้างในเรื่องกิจการสาธารณะที่เป็นสวัสดิการซึ่งเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องรับผิดชอบต่อประชาชนจึงเป็นสิ่งที่ผิดและเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการเบียงเบนประเด็นจากความไร้ความสามรถในการบริหารงานของรัฐบาล ดังนั้นแทนที่จะจะยกเลิกรถเมล์ฟรี รัฐบาลจึงควรจัดให้รถเมล์NGVทั้ง4,000 คันนั้นเป็นรถเมล์ฟรีเพื่อเป้นสวัสดิการให้แก่ประชาชนทั้งหมด

3.ควรมีช่องจรจรสำหรับรถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะทั้งระบบเพื่อความสะดวกต่อการจราจรสาธารณะซึ่งเป็นการสัญจรของคนส่วนมากในสังคม หรือพัฒนาเป็นรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที (BRT) ที่นิยมใช้ในทวีปอเมริกาเหนือแล้ว หรือในบางภูมิภาคเช่นทวีปยุโรป หรือออสเตรเลีย อาจเรียกว่า "บัสเวย์" (Busway) หรือบางแห่งอาจเรียกชื่อเฉพาะสำหรับระบบในแต่ละเมือง เช่น ทรานส์จาการ์ต้า (TransJakarta) เป็นต้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของขนส่งสาธารณะ สร้างระบบขนส่งสาธารณะที่รวดเร็ว สะดวกสบายและประหยัด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคหรือผู้ใช้ถนนในอนาคตต่อมา โดยเฉพาะหากทำควบคู่ไปกับมาตรการเชิงโครงสร้างในการขึ้นภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลในอัตราก้าวหน้า อันจะนำไปสู่การลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งใช้พื้นที่จราจรต่อบุคคลสูงกว่าซึงเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการจรจรติดขัดลงได้ และยังสามารถนำเงินภาษีที่เก็บได้ดังกล่าวมาจัดเป็นสวัสดิการในการเดินทางของประชาชนในรูปของรถเมล์ฟรีที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย
*********
เอกสารอ้างอิง{1}เดลินิวส์ . 2552. พรรคภูมิใจไทย:ทำไม? ต้องเช่ารถเมล์ NGV. เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 มิ.ย. 2552

http://thaienews.blogspot.com/2009/10/4000.html

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แถลงการณ์ การคมนาคมสาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน กรณีรถเมล์NGV 4,000 คันรัฐต้องสร้างเป็นรัฐสวัสดิการ ฟรี ถ้วนหน้า ครบวงจรและมีประสิทธิภาพ

กลุ่มประกายไฟ

19 ตุลาคม 2552



ในขณะที่เศรษฐกิจของสังคมไทยและสังคมโลกกำลังตกต่ำซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิกฤติเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสมอ รวมทั้งปัญหาวิกฤตพลังงานที่ยังคงดำเนินอยู่ในขณะนี้ การคมนาคมขนส่งของประเทศโดยเฉพาะรถเมล์เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของประชาชนผู้มีรายได้น้อยในกรุงเทพ

รัฐบาลซึ่งควรมีหน้าที่โดยตรงในการให้หลักประกันความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสิทธิในการคมนาคมสาธารณะแก่ประชาชน แต่ในความเป็นจริงเวลานี้รัฐบาลกำลังพยายามผลักภาระค่าใช้จ่ายทางการคมนาคมและความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจให้ประชาชนจากการประกาศนโยบายเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีนายโสภณซารัมภ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้ดำเนินการ โดยรัฐบาลอ้างว่าเพื่อเป็นการลดการขาดทุนขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)

การประกาศนโยบายดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้แรงงานและผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนในสังคมไทย ดังนี้

1.การใช้ระบบตั๋วอิเล็กโทรนิกส์(E-TICKET)นั้น ก่อให้เกิดการเลิกจ้างหรือการเกษียณอายุก่อนกำหนดของพนักงานขสมก. ซึ่งมีจำนวนมากถึง 6,000-7,000 คน เพื่อให้ขสมก.มีกำไรตามที่ลัทธิเสรีนิยมใหม่ต้องการ ซึ่งการเลิกจ้างงานดังกล่าวทำให้ประชาชนส่วนหนึ่งขาดรายได้ คุณภาพชีวิตแย่ลง อาจลุกลามไปสู่ปัญหาสังคมอื่นๆได้

2.การใช้ระบบตั๋วอิเล็กโทรนิกส์ส่งผลกระทบต่ออัตราค่าโดยสาร ซึ่งจะต้องมีการเรียกเก็บเพิ่มขึ้นจากราคาเดิมเพื่อความคุ้มค่าต่อการลงทุนของรัฐบาล และผู้รับภาระอัตราค่าโดยสารที่เพิ่มขึ้นนั้นคือประชาชนส่วนใหญ่ที่มีรายได้ไม่มากนัก รวมทั้งกระทบต่อนโยบายรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชน ซึ่งรัฐบาลเคยให้การโปรโมตไว้นั้นมีทีท่าว่าจะต้องยุติลง

3.การลดจำนวนพนักงานเก็บเงินและการนำระบบตั๋วอิเล็กโทรนิค(ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินระหว่างขึ้นรถ)มาใช้อาจก่อให้เกิดการจราจรติดขัดมากขึ้น เนื่องจากความล้าช้าในการต่อคิวเพื่อจ่ายเงินค่าโดยสารผ่านระบบตั๋วอิเล็กโทรนิค ที่อาจทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นในการจอดรับส่งผู้โดยสารในแต่ละป้าย

จากทั้งสามประเด็นที่กล่าวมานั้น เราเห็นว่าประชาชนคนรากหญ้าก็จะต้องรับภาระด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นการเช่ารถเมล์เอ็นจีวี 4,000 คันของรัฐบาลจึงควรจะมีมาตรการและสวัสดิการรองรับความเดือดร้อนของประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่ต้องรับภาระทางเศรษกิจเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม เราจึงเสนอให้

1.ในส่วนของแรงาน ขสมก. ที่จะได้รับผลกระทบนั้น การที่ ขสมก. จะเลิกจ้างหรือให้เกษียรอายุก่อนกำหนดหรือจะใช้มาตราการใดๆจะต้องคำนึงถึงความสมัครใจเป็นสิ่งสำคัญ และควรดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป รวมถึงภาครัฐต้องมีมาตรการรองรับคุณภาพชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ที่มิใช่เพียงแค่เงินทดแทน(“ชดเชย”)จากภาครัฐเท่านั้น นอกจากนั้นรัฐจะต้องมีนโยบายการจ้างงานเต็มที่ (Full Employment) การขยายสิทธิประโยชน์ในการประกันรายได้และกาจ้างงานให้ถ้วนหน้าเป็นระบบและครบวงจร ทั้งนี้รวมถึงการรองรับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานที่ต้องออกจากงานก่อนกำหนด

2.การที่รัฐจะออกมาให้ความเห็นว่า “ขสมก ขาดทุนมากกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 3,000 ล้านบาท ซึ่งเกินกว่ากำลังที่ ขสมก. จะจ่ายได้ จึงเป็นภาระของรัฐบาลที่จะต้องนำงบประมาณมาอุดหนุนปีละกว่า 9,000 ล้านบาท”{1} ถือเป็นการปัดความรับผิดชอบ เพราะการคมนาคมสาธารณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ปกติรัฐจะต้องจัดให้เป็นสวัสดิการ ดังนั้นการใช้จ่ายเงินงบประมาณที่รัฐมองว่าเป็นภาระนั้นแท้จริงแล้วมันคือหน้าที่ที่รัฐต้องจัดหาให้เป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว การเอาเรื่องผลกำไรมากล่าวอ้างในเรื่องกิจการสาธารณะที่เป็นสวัสดิการซึ่งเป็นหน้าที่ที่รัฐต้องรับผิดชอบต่อประชาชนจึงเป็นสิ่งที่ผิดและเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการเบียงเบนประเด็นจากความไร้ความสามรถในการบริหารงานของรัฐบาล ดังนั้นแทนที่จะจะยกเลิกรถเมล์ฟรี รัฐบาลจึงควรจัดให้รถเมล์NGVทั้ง4,000 คันนั้นเป็นรถเมล์ฟรีเพื่อเป้นสวัสดิการให้แก่ประชาชนทั้งหมด

3.ควรมีช่องจรจรสำหรับรถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะทั้งระบบเพื่อความสะดวกต่อการจราจรสาธารณะซึ่งเป็นการสัญจรของคนส่วนมากในสังคม หรือพัฒนาเป็นรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษหรือบีอาร์ที (BRT) ที่นิยมใช้ในทวีปอเมริกาเหนือแล้ว หรือในบางภูมิภาคเช่นทวีปยุโรป หรือออสเตรเลีย อาจเรียกว่า "บัสเวย์" (Busway) หรือบางแห่งอาจเรียกชื่อเฉพาะสำหรับระบบในแต่ละเมือง เช่น ทรานส์จาการ์ต้า (TransJakarta) เป็นต้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของขนส่งสาธารณะ สร้างระบบขนส่งสาธารณะที่รวดเร็ว สะดวกสบายและประหยัด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคหรือผู้ใช้ถนนในอนาคตต่อมา โดยเฉพะหากทำควบคู่ไปกับมาตารการเชิงโครงสร้างในการขึ้นภาษีรถยนต์ส่วนบุคคลในอัตราก้าวหน้า อันจะนำไปสู่การลดปริมาณรถยนต์ส่วนบุคคลซึ่งใช้พื้นที่จราจรต่อบุคคลสูงกว่าซึงเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาการจรจรติดขัดลงได้ และยังสามารถนำเงินภาษีที่เก็บได้ดังกล่าวมาจัดเป็นสวัสดิการในการเดินทางของประชาชนในรูปของรถเมล์ฟรีที่มีประสิทธิภาพได้อีกด้วย



เอกสารอ้างอิง

{1}เดลินิวส์ . 2552. พรรคภูมิใจไทย:ทำไม? ต้องเช่ารถเมล์ NGV. เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 8 มิ.ย. 2552

รวมข่าวเสวนา: บททดสอบภาคประชาชน เมื่อสิทธิการชุมนุมถูกปราบโดยรัฐ




ประชาไทรายงาน : เสวนา: บททดสอบภาคประชาชน เมื่อสิทธิการชุมนุมถูกปราบโดยรัฐ
Mon, 2009-10-19 02:00




18 ต.ค.52 กลุ่มประกายไฟ จัดเสวนา เรื่อง “บททดสอบภาคประชาชน เมื่อสิทธิการชุมนุมถูกปราบโดยรัฐ” ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว

ตัวแทนชาวบ้านหนองแซง กล่าวว่า การชุมนุมดังกล่าวเป็นการรวมตัวกันเรียกร้องขอความเป็นธรรมบนท้องถนน และเป็นการเรียกร้องให้ส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมหาทางออก เนื่องจากชาวบ้านรู้สึกถึงทางตัน ไม่มีหน่วยงานใดๆ สนใจปัญหาของพวกเขา และยืนยันการชุมนุมดังกล่าวไม่มีแกนนำ หากแต่เป็นความรู้สึกเก็บกดของชาวบ้านในพื้นที่ที่รู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐด้วย อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านหนองแซงยังคงจะต่อสู้ต่อไปตามช่องทางต่างๆ ที่มี เพื่อปกป้องวิถีชีวิตและสิทธิของประชาชนในพื้นที่

ตัวแทนสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวว่า รู้สึกตกใจกับการออกหมายจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ เนื่องจากการชุมนุมในวันดังกล่าวเป็นการยื่นหนังสือร้องเรียนต่อรัฐบาลแต่ไม่มีใครออกมารับหนังสือ และอยู่ระหว่างประสานให้มีตัวแทนออกมารับการร้องเรียน บรรยากาศการชุมนุมก็เป็นไปแบบสบายๆ ไม่ได้สร้างแรงกดดันใดๆ

นายอานนท์ นำภา ทนายความจากสำนักกฎหมายมีสิทธิฯ กล่าวว่า ในวันอังคารนี้ (20 ต.ค.) จะยื่นคำร้องขอเพิกถอนหมายจับกรณีแรงงานไทรอัมพ์ แม้ว่าก่อนหน้านี้ศาลจะมีคำสั่งไม่ให้คัดสำเนาหมายจับและคำร้องขอออกหมายจับของพนักงานสอบสวน ซึ่งน่าจะเป็นสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาก็ตาม อย่างไรก็ตาม เขาเห็นว่ากระบวนการออกหมายจับของไทยยังมีปัญหาอยู่มาก และจุดมุ่งหมายของการออกหมายจับก็มักมุ่งไปที่การทำให้ประชาชนประสบความยุ่งยากจนไม่สามารถไปเคลื่อนไหวอะไรได้

“ พ.ร.บ.กรชุมนุมสาธารณะที่จะออกมาก็น่าเป็นห่วง ทุกฝ่ายควรจับตาอย่างใกล้ชิด” อานนท์กล่าวและว่าวิธีแก้ปัญหานี้อาจต้องเปลี่ยนวิธีคิดของเจ้าหน้าที่และสังคม ตลอดจนทำให้วิถีการปกครองประเทศเป็นประชาธิปไตยมากกว่านี้

อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ยุทธวิถีการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนทุกกลุ่มมักจะดำเนินการผ่านช่องทางต่างๆ ตามปกติมาจนหมดแล้วแต่ก็ยังไม่สามารถส่งเสียงสู่สังคมหรือส่วนที่เกี่ยวข้องให้แก้ปัญหาได้ จึงต้องเคลื่อนไหวโดยพยายามทำให้กลไกต่างๆ ของสังคมหรือรัฐ ไม่สามารถทำงานได้เพื่อดึงความสนใจของส่วนต่างๆ มายังปัญหาของพวกเขา ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ และเป็นความชอบธรรมของชาวบ้าน ผู้ด้อยโอกาสตลอดมา

แต่หลังการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ทำให้เรื่องดังกล่าวมีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อแตกต่างสำคัญของกลุ่มประชาชนและขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพันธมิตรฯ อยู่ที่เป้าหมาย ซึ่งสำหรับประชาชนกลุ่มต่างๆ นั้นไม่ได้มีเป้าหมายที่เป็นปัญหากับระบอบประชาธิปไตย และไม่ได้ทำให้รัฐเป็นรัฐที่ล้มเหลว อีกทั้งการชุมนุมทางการเมืองหลายครั้งก็ไม่ได้ยืนอยู่บนหลักของการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธแต่อย่างใด

“ที่ผ่านมานักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชนต่างๆ ถนัดที่จะด่ารัฐเวลามีการปะทะกัน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มีความจริงสอดคล้อง วันนี้มันซับซ้อนมากขึ้น ความรุนแรงไม่จำเป็นต้องมาจากเจ้าหน้าที่รัฐเสมอไป” อุเชนทร์กล่าว

เขากล่าวอีกว่า เมื่อสถานการณ์วันนี้ซับซ้อนมากขึ้นและทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจกลายเริ่มเป็นจำเลยในบางกรณี อีกทั้งเกิดความแตกต่างกันระหว่างการจัดการกับการชุมนุมของฝ่ายต่างๆ จึงเห็นสมควรให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ แต่ไม่ใช่แบบที่รัฐบาลผลักดัน ทำให้ผู้ชุมนุมต้องขออนุญาตก่อนและสร้างเงื่อนไขต่างๆ มากมาย แต่ต้องเป็นกฏหมายที่ปกป้องสิทธิการชุมนุมของประชาชนให้เท่ากันทุกกลุ่ม และกำหนดขอบเขตว่าการชุมนุมที่เกินเลยไปจะไมได้รับการคุ้มครอง เช่น การพกพาอาวุธ และหากจะมีการสลายการชุมนุมก็ต้องมีความโปร่งใส ชัดเจน

“การมีมาตรฐานแบบนี้อาจดีในแง่ที่ว่ามันปกป้องสิทธิการชุมนุมของคุณเท่ากันทุกคน ตั้งแต่องคมนตรีถึงคนเก็บขยะ” อุเชนทร์กล่าว

ทั้งนี้ การเสวนาดังกล่าวจัดขึ้นเนื่องมาจากกรณี 3 ผู้นำที่ชุมนุมที่เชียงรายเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือราคาข้าวนาปรังถูกจำคุก 6 เดือน ไม่รอลงอาญา เมื่อ 23 กรกฎาคม 2552 หลังจากนั้นเพียงเดือนเศษ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน อิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ในเครือ ซึ่งเป็นคนงานบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์(ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิล์ลเวลล์การ์เม้นท์ที่เดินทางมายื่นข้อเรียกร้องและติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของรับบาลบริเวณหน้าทำเนียบและรัฐสภา ในวันที่ 27 สิงหาคม ถูกสลายการชุมนุมด้วยเครื่องทำลายประสาทหูหรือ LRAD และถูกออกหมายจับ 3 แกนนำ ด้วยข้อหาก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เช่นเดียวกับคนขายหวยจากจังหวัดเลยที่มาประท้วงกระทรวงการคลังไม่จัดสรรโควตาสลาก เมื่อวันที่ 23 กันยายน ล่าสุด กรณีแกนนำชาวบ้านหนองแซง จังหวัดสระบุรี 6 คนถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหาปิดถนนทางสาธารณะ ภายหลังการชุมนุมบนถนนสายพหลโยธินตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน 2552 และได้ยุติการชุมชนในวันที่ 25 กันยายน 2552 เพื่อแสดงตัวตนและสื่อสารต่อสาธารณะของชาวบ้านที่เป็นเหยื่อของการพัฒนาที่ไม่เป็นธรรมและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ

ที่มา ประชาไท


สำนักข่าวไทยรายงาน :เอ็นจีโอ หนุน พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะ

ราชดำเนิน 18 ต.ค. - เอ็นจีโอ หนุน พ.ร.บ.ชุมนุมในที่สาธารณะ ชี้คือทางออกชุมนุมอย่างไรไม่ถูกจับ เผยปัญหา เจ้าหน้าที่ปฏิบัติ 2 มาตรฐาน ชาวบ้าน-คนงานปิดถนน เรียกร้องสิทธิถูกจับติดคุก ขณะที่การชุมนุมทางการเมืองทำได้

ในงานเสวนาเรื่องบททดสอบภาคประชาชน เมื่อสิทธิการชุมนุมถูกปราบโดยรัฐ จัดโดยกลุ่มประกายไฟ ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ นางปฐมมน กัลหา ตัวแทนกลุ่มคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหนองแซง กล่าวว่าการชุมนุมของชาวบ้านที่ผ่านมา ไม่ได้ต้องการปิดถนนให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่เป็นการแสดงออก เพื่อขอความเป็นธรรมบนท้องถนน หลังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถให้ความเป็นธรรมได้ แต่ผลที่ได้รับทำให้ชาวบ้าน 6 คนถูกออกหมายจับ ซ้ำแกนนำ 3 คนที่ถูกจับกุม กลับไม่ได้รับการประกันตัวในตอนแรก สะท้อนการใช้อำนาจของรัฐที่เลือกปฏิบัติ เพราะผู้ต้องหาฆ่าคนตายยังได้รับการประกันตัว แต่พวกตนต่อสู้เรียกร้องเพื่อวิถีเกษตรกรรมดั้งเดิม กลับถูกจับเข้าคุก

ด้าน น.ส.บุญรอด สายวงศ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวว่า กรณีของคนงานไทรอัมพ์ ชุมนุมเรียกร้อง เพราะถูกเลิกจ้างเกือบ 2,000 คน เมื่อมาทวงถามความคืบหน้าที่หน้าทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภาหลังจากยื่นข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีและกระทรวงแรงงานช่วยเหลือไปแล้วเกือบ 20 วันกลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ ใช้เครื่องขยายเสียงความถี่สูง หรือ แอลแรด เปิดใส่ทำให้คนงานได้รับบาดเจ็บ หูชั้นกลางอักเสบนับ 10 คน จากนั้นแกนนำยังถูกออกหมายจับ อีก 3 คน นับเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เพราะการชุมนุมเรีกร้องเพื่อปากท้องของตนกลับได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงจากเจ้าหน้าที่

นายอุเชน เชียงเสน นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและการรวมตัวของชาวบ้าน กล่าวว่าทั้ง 2 กรณีที่เกิดขึ้นกับชาวบ้าน รวมไปถึงกรณีอื่นๆ เช่น ม็อบชาวนาที่จังหวัดเชียงราย ที่ล่าสุดถูกศาลสั่งจำคุก 6 เดือนโดยไม่รอลงอาญา ทำให้สังคมต้องกลับตั้งคำถามว่า การใช้สิทธิชุมนุมอย่างสงบตามรัฐธรรมนูญ ยังสามารถทำได้อยู่หรือไม่ เพราะปัญหาเกิดขึ้นเมื่อนำไปเทียบกับการชุมนุมทางการเมือง ที่ผ่านมา ที่มีการยึดสนามบิน กลับไม่ถูกจับกุมและคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้น ตนอยากสนับสนุนให้มี พ.ร.บ.การชุมนุมในที่สาธารณะเพื่อให้การชุมนุมนับจากนี้เกิดความชัดเจน.

ที่มา สำนักข่าวไทย อัพเดตเมื่อ 2009-10-18 16:28:40 http://news.mcot.net/social/inside.php?value=bmlkPTEyMDk3NCZudHlwZT10ZXh0

ASTVผู้จัดการออนไลน์รายงาน : เครือข่ายภาค ปชช.จัดเสวนาเรียกร้องการรวมตัวต่อสู้อำนาจรัฐ

เครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสิทธิการชุมนุมทางกฎหมาย เรียกร้องให้เกิดการรวมตัวเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เห็นความสำคัญของประชาชน ส่วนหนึ่งของการเสวนาแบบทดสอบภาคประชาชน เมื่อสิทธิการชุมนุมถูกปราบโดยรัฐ

น.ส.ปฐมมล กันหา ตัวแทนกลุ่มคัดค้านโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซง จ.สระบุรี กล่าวว่า ชาวบ้านที่ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของส่วนรวม กำลังถูกภาครัฐจับกุมและฟ้องร้องแกนนำแต่ละคน และมีคดีติดตัวอย่างน้อยคนละ 3-5 คดี โดยอ้างว่าการปิดเส้นทางสาธารณะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ วิธีการหรือกฎหมายที่รัฐบาลใช้กับชาวบ้าน เป็นคนละมาตรฐานที่ใช้กับนายทุน

เช่นเดียวกับกรณีของแรงงานไทรอัมพ์ อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย ที่ถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม หลังจากไปยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหา ถูกทำการสลายการชุมนุมด้วยเครื่องทำลายประสาทหู และถูกตำรวจออกหมายแกนนำ 3 คน ในข้อหาก่อความวุ่นวายให้บ้านเมือง

น.ส.จิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เปิดเผยว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นล้วนมาจากรัฐบาลทั้งสิ้น ไม่สามารถเป็นที่พึ่งให้กับประชาชน ดังนั้นผู้ที่เดือดร้อนควรจะรวมตัวกันต่อรองกับอำนาจรัฐ หรือเข้าสู่การใช้อำนาจรัฐ

ที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9520000123930

ล่าชื่อร่อนแถลงการณ์ อย่าใช้ความรุนแรงกับม็อบเสื้อแดง สะกิดเอ็นจีโอ นักวิชาการ อย่า 2 มาตรฐาน

Sat, 2009-10-17 00:26

องค์กรนักศึกษานำโดย สนนท. นักวิชาการ นักกิจกรรมสังคม นักสหภาพแรงงาน องค์กรภาคประชาชน ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม นปช.เสื้อแดง ในการจัดชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 17ตุลาคมนี้ จี้รัฐบาล สื่อ เอ็นจีโอ-องค์กรสิทธิ-นักวิชาการ อย่า 2 มาตรฐานกับม็อบ

ทั้งนี้กลุ่มประชาชนที่ร่วมกันออกแถลงการณ์ ยังได้เผยว่า ได้ทำสำเนาเชิญชวนการลงนามไปยังบุคคล กลุ่ม และองค์กรที่เคยสนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนด้วยแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามว่าจะมีการร่วมลงนามในครั้งนี้ด้วยหรือไม่

สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้



แถลงการณ์
ขอเรียกร้องไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม


ตามที่แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงจะจัดการชุมนุมขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพื่อควบคุมการชุมนุม และมีแนวโน้มที่อาจเกิดความรุนแรงได้นั้น พวกเรา ซึ่งมีรายนามดังแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องมายังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

1.รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ และชนชั้นนำ ไม่ควรเลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน โดยสมควรต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และให้ประชาชนทุกฝ่ายสามารถจัดการการชุมนุมได้โดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะเกิดเหตุความไม่สงบขึ้น จึงสมควรจะประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ทั้งนี้ต้องไม่ให้กองกำลังทหาร ซึ่งไม่ได้ฝึกฝนมาควบคุมฝูงชนเข้าทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน และสมควรต้องเร่งผลักดันกฎหมายการชุมนุมสาธารณะออกมาบังคับใช้เพื่อควบคุมการชุมนุมเป็นไปตามมาตรฐานสากลโดยเร็ว

2.ผู้รับผิดชอบการจัดการชุมนุม โดยเฉพาะแกนนำ นปช. ต้องควบคุมจัดการการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ยั่วยุให้ก่อความรุนแรง หรือยึดสถานที่ราชการแบบที่กลุ่มพันธมิตรเคยปฏิบัติ แม้การกระทำเช่นนั้น จะยังไม่ถูกดำเนินคดีถึงขั้นจำคุกตามกฎหมายก็ตาม หากเกิดความรุนแรงใดๆ จากการที่ไม่สามารถควบคุมการชุมนุมได้ หรือนำไปสู่ความรุนแรง ย่อมเป็นความรับผิดชอบของแกนนำ หรือผู้จัดการชุมนุมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนผู้ชุมนุมพึงใช้สิทธิตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงใดๆ

3.สื่อมวลชน ต้องนำเสนอข่าวการชุมนุมด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติใดๆ หรือชี้นำให้เกิดความรุนแรง หลีกเลี่ยงการยั่วยุใดๆ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อตอนสงกรานต์ที่ผ่านมา

4.นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ และองค์การพัฒนาภาคเอกชน ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรสิทธิมนุษยชน ภาคเอกชน และนักวิชาการ สมควรต้องออกมาแสดงบทบาทเหมือนกับที่เคยออกมาสนับสนุนให้พันธมิตรจัดการชุมนุม ‘โดยสันติวิธี’ ทุกครั้ง ทุกโอกาส และสมควรต้องออกมาเรียกร้องไม่ให้รัฐใช้ความรุนแรงแบบเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา หากเพิกเฉยย่อมแปลความเป็นอย่างอื่นมิได้ นอกจากเป็นการยอมรับว่า ปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน ให้ท้ายพันมิตร แต่เพิกเฉยหรือซ้ำเติมต่อ นปช. เหมือนครั้งเหตุการณ์เมื่อวันสงกรานต์ ที่เคยออกแถลงการณ์สนับสนุนให้รัฐบาลปราบปราม นปช.มาแล้ว ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่น่าอับอาย

5.นักกิจกรรมสังคมที่ต้องการสันติ เช่น กลุ่มริบบิ้นขาว สถาบันพระปกเกล้าฯ กลุ่มรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย ที่เคยออกมารณรงค์ให้ "ทุกฝ่าย" ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ขณะนี้ได้เวลาที่ต้องออกมาแสดงบทบาทแล้ว หากเพิกเฉยก็อาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ 2 มาตรฐาน

6.ประชาชน พึงทราบและตระหนักว่า การจัดการชุมนุมทางการเมืองโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้า พึงเข้าใจว่า คนที่มาร่วมการชุมนุมทางการเมืองนั้น ส่วนมากเป็นคนที่กระตือรือร้นต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง เป็นคนที่มีครอบครัว มีเลือดเนื้อ มีจิตใจเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ไม่ได้เป็น ‘อื่น’ ประชาชนจึงสมควรจะสนับสนุนกิจกรรมการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

ด้วยความเชื่อมั่น
17 ตุลาคม 2552



องค์กรและบุคคลที่ร่วมลงนาม

อนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา สถาบันเพื่อการพัฒนาเยาวชนประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ยุทธนา ดาศรี เลขาธิการนิสิตนักศึกษาภาคอีสาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นฤมล มีสมบัติ กรรมการบริหาร สนนท. ( ม.รามคำแหง )
อัมรีย์ เด กรรมการบริหาร สนนท. (ม.กรุงเทพธนบุรี)
ฉัตรสุดา หาญบาง กรรมการบริหาร สนนท.( มรฏ.สวนดุสิต)
ยุทธนา ภักดีหาญ กลุ่มยอป่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิศรุต บุญยา เครือข่ายนักศีกษาพิทักษ์ประชาชน รามคำแหง
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
ไพโรจน์ จันทรนิมิ ประธานชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
พิษณุ ไชยมงคล ผู้อำนวยการ สำนักเรียนรู้การกระจายอำนาจและปกครองตนเอง
วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกกลุ่มประกายไฟ
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
สมศักดิ์ ภักดิเดช กรรมการชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
สิทธิ์ จันทาเทศ สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก
บุญผิน สุนทราลักษ์ สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก
นายสัณหณัฐ นกเล็ก องค์กรเสรีปัญญาชน
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์
หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.)
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.)
สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์
สหภาพแรงานสหกิจวิศาล
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท University of Warwick
ภัควดี วีระภาสพงษ์
ชำนาญ จันทร์เรือง
ใจ อึ๊งภากรณ์
จิรวัฒน์ เทียนเงิน
เขมนิจ เสนาจักร
ครรชิต พัฒนโภคะ องค์กรเลี้ยวซ้าย
ภัทรพล เสนาจักร
บุหงา เสนาจักร
ปรินดา วานิชสันต์
จักรภพ เพ็ญแข
นุชรินทร์ ต่วนเวช
สุณี ครองพิพัฒน์สุข
อาทร ทศพหล
น.ส.วัลภา ทันตานนท์
สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์
วิทยา อาภรณ์
ประสาท ศรีเกิด
พิชิต พิทักษ์
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
วิโรจน์ ดุลยโสภณ
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์
อาณัติ สุทธิเสมอ
ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ
Tanaporn Tornros
รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
ยรรยง ลูกชาวดิน กลุ่มชาวดิน ออนเน็ต
คณิตศาสตร์ สารบุญมา
อรรคพล สาตุ้ม
วิทยา เล้าประเสริฐ
ทิพย์สุดา เณรทอง
ชัยอนันต์ ทินกูล
นางสาวจินตภัทร์ แถมพูลสวัสดิ์
นางสาวทารินี ทรงเกียรติธนา
เดโช กำลังเกื้อ
นพดล ทิพยชล
พศิน สุนทราธนกุล
กานต์ ทัศนภักดิ์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ธีระพล อันมัย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผศดร.ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นาง ธนพร ทรอนโรส
อรรถชัย อนันตเมฆ


ในตอนท้ายแถลงการณ์ ยังได้เชิญชวนร่วมกันเผยแพร่แถลงการณ์ไปยังมิตรสหาย และร่วมกันลงนาม โดยระบุที่อยู่ส่งกลับที่ อีเมล์ redseed1@gmail.com ภายในเวลา 08.00 น.วันเสาร์ที่ 17 ต.ค.นี้

ร้องถอนหมายจับผู้นำสหภาพแรงงาน- กก.สิทธิ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ ตร.

Sat, 2009-09-05 11:19







(4 ก.ย.) เมื่อเวลา 16.00น. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีการแถลงข่าวประณามการออกหมายจับแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ซึ่งร่วมลงชื่อโดยองค์กร ประชาชน นักกิจกรรมทางสังคม นักวิชาการ กว่า 150 คน เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับที่ไม่เป็นธรรมกับผู้นำสหภาพแรงงาน โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องไม่มีการจับกุมตามหมายจับ และดำเนินเพื่อร้องขอกับศาลให้มีการถอนหมายจับโดยทันที

นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ที่ได้ยื่นให้รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองโดยเร็วที่สุด และเรียกร้องให้รัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำโดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยทางตำรวจได้เปิดเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ได้รับผลกระทบต่อคนงานผู้หญิง คนงานพิการ และอายุมากที่ได้นั่งฟังปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ตัวแทนของสหภาพกำลังเข้าไปยื่นหนังสือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ประจำรัฐสภา และการขอออกหมายจับผู้นำสหภาพ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เป็นการละเมิดสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

ธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ รองประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวว่า หลังกลับจากการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา คนงานหลายคนมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ และคลื่นไส้ บางรายมีอาการปวดเบ้าตา โดยบางคน แพทย์วินิจฉัยว่า หูชั้นกลางอักเสบ หลายคนมีอาการข้างเคียงคือ พูดกันไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องจากสมองเบลอ ซึ่งอาการเหล่านี้คือผลกระทบจากการที่ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวมีการนำใบรับรองแพทย์ของคนงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกลหรือ LRAD มาแสดงด้วย





ด้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสว่า ตำรวจเพียงแต่เปิดลำโพงเพื่อประกาศเตือนการปิดถนนหน้ารัฐสภาที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่ได้มีเจตนาจะสลายการชุมนุม พร้อมทั้งระบุด้วยว่าขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการออกหมายจับคนงานเพิ่ม

000000


ประณามการออกหมายจับแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ

พวกเรา องค์กร และบุคคลข้างล่าง ขอประณามการออกหมายจับ นายสุนทร บุญยอด น.ส.บุญรอด สายวงศ์ (เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) และ น.ส.จิตรา คชเดช (ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) โดยสถานีตำรวจนครบาลเขตดุสิต ต่อการใช้สิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ในวันพฤหัสที่ 27 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการชุมนุมอย่างสันติ โดยคนงานผู้หญิง ที่รวมถึงคนงานที่ท้อง และพิการ จำนวน 1,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง
โดยทาง พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นว่า การชุมนุมอย่างสันตินี้ เข้าข่าย การมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 215 และมาตรา 216 ที่มีโทษหนักถึงจำคุกเป็นระยะเวลา 3 ปี

ทางพวกเรามีความเห็น ดังนี้:

1. การออกหมายจับครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ (excessive uses of force) เนื่องจากสิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กระทำเพื่อเรียกร้องให้มีการออกมารับหนังสือโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคี

2. การชุมนุมที่เกิดขึ้น เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่มีความชอบธรรม เนื่องจากเป็นการชุมนุมของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,959 คน และเป็นการชุมนุมที่สืบเนื่องมาจาก การยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ประจำทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง

3. การให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในหนังสือพิมพ์ไอเอ็นเอ็น ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด เนื่องจากการชุมนุมของสหภาพแรงงานฯ ทั้งหน้าทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา นั้น ได้เป็นไปตามกรอบสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้รับรองไว้ และไม่ได้มีการปิดถนนหน้าทำเนียบรัฐบาล ตามที่พล.ต.ท.วรพงษ์ได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่การที่ถนนหน้ารัฐสภาปิดเกิดขึ้น เนื่องจากการไร้ความรับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวก ทำให้มีรถวิ่งสวนกับผู้ชุมนุมมากมาย และไม่ได้มีการปิดรัฐสภาแต่อย่างใด โดยรถยนต์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเข้าออกได้อย่างไม่มีปัญหา

4.การตอบโต้การชุมนุมครั้งนี้ โดย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ในการนำเครื่องขยายเสียงระดับไกล (LRAD: Long Range Acoustic Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้โดยทหารสหรัฐในสงครามอิรัก มาเปิดช่วงที่คนงานหญิงได้ชุมนุมกันอย่างสันติ และในช่วงที่กำลังประสานงานกับ นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน เข้ามารับหนังสือ ถือเป็นการกระทำที่ประสงค์จะให้มีการสลายการชุมนุม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง เนื่องจากได้สร้างความเจ็บปวดในระบบหูให้กับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะคนงานที่มีอายุมาก ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า เครื่องขยายเสียงนี้สามารถทำลายระบบหู จนทำให้ไม่ได้ยินไปตลอดชีวิตได้ หากมีการเปิดในระยะใกล้กับผู้ชุมนุม ซึ่งในกรณีนี้มีการเปิดใกล้กับผู้ชุมนุมมาก (ห่างจากผู้ชุมนุมในระยะ 1-2 เมตรเท่านั้น) อีกทั้ง การดำเนินการดังกล่าวไม่มีเหตุใดๆที่จะนำเครื่องขยายเสียงมาดำเนินการแต่อย่างใดมาใช้ เนื่องจากดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า ผู้ชุมนุมได้ชุมนุมกันอย่างสันติโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจใดๆดำเนินการเพื่อให้มีการสลายการชุมนุม

สืบเนื่องจากความเห็นของพวกเรา เราจึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้:

1.เราขอเรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับที่ไม่เป็นธรรม กับผู้นำสหภาพแรงงาน โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องไม่มีการจับกุมตามหมายจับ และดำเนินเพื่อร้องขอกับศาลให้มีการถอนหมายจับโดยทันที
2. เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ที่ได้ยื่นให้รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองโดยเร็วที่สุด
3. เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำโดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยทางตำรวจได้เปิดเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ได้รับผลกระทบต่อคนงานผู้หญิง คนงานพิการ และอายุมากที่ได้นั่งฟังปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ตัวแทนของสหภาพกำลังเข้าไปยื่นหนังสือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ประจำรัฐสภา และการขอออกหมายจับผู้นำสหภาพ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เป็นการละเมิดสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม

31 สิงหาคม 2552

สมัชชาคนจน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ แห่งประเทศไทย
สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์
กลุ่มผู้ใช้แรงานสระบุรีและใกล้เคียง
สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล
สหภาพแรงงานชินาโนเคนชิ ประเทศไทย
สหภาพแรงงานแฟชั่นเอ็กซ์เพรส
สหภาพแรงงานไทยเปอร์อ๊อกไซด์
สหภาพแรงงานอดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ซัลไฟล์สดิวิชั่น ประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มประกายไฟ
กลุ่มรองเท้าแตะ
กลุ่มประสานงานกรรมกร
กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ

เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
สุณัย ผาสุข นักสิทธิมนุษยชน
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
อังคณา นีละไพจิตร ผู้เขียนรายงานประเทศตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองฉบับที่สอง
พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ/ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา/สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาไอทีเอฟ
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬา
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
วัชรพล ศุภจักรวัฒนา อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
ปาณัสม์ชฎา ธนภาคิน อาจารย์ประจำคณะบริหารรัฐกิจ ม.ฟาร์อีสเทิร์น
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ บรรณาธิการนิตยสารวิภาษาและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Nivedita Menon School of International Studies Jawaharlal Nehru University
ภัควดี วีระภาสพงษ์ ประชาชน
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระทางด้านรัฐศาสตร์
สุภิญญา กลางณรงค์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network)
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ ผู้ประสานงานกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน
ชัยธวัช ตุลาฑล นักกิจกรรมทางสังคม
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักกิจกรรมทางสังคม
กานต์ ยืนยง นักกิจกรรมทางสังคม
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
พวงชมพู รามเมือง มูลนิธิกองทุนไทย
อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน
พิชิต พิทักษ์ กลุ่มสร้างสรรค์ชืวิตและธรรมชาติ อีสาน
พิษณุ ไชยมงคล สำนักเรียนรู้เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (สปท.)
นายประสาท ศรีเกิด สถาบันเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย
นายอาณัติ สุทธิเสมอ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ YPD/ตัวแทนจากองค์กรนักศึกษา ม.รังสิต
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านเอชไอวี/เอดส์
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์ สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย
นางกสิณา สริจันทร์ สถาบันอิสานภิวัตน์
ขวัญรวี วังอุดม นักศึกษาปริญญาโท คณะสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สถาบันสังคมศึกษา
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชล บุนนาค นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยอีราสมุส รอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุบลพรรณ กระจ่างโพธิ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อานนท์ อุณหะสูต นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อานนท์ ชวาลาวัณย์ นักศึกษาปริญญาโท Jawaharlal Nehru University New Delhi
Timo Ojanen นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กมลชนก สุขใส อดีตนักศึกษาปริญญาตรี คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไชยรัตน์ ชินบุตร นักศึกษา คณะ รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ นักศึกษาโรงเรียนแม่น้ำโขง Mekong School-EarthRights International
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน
อนุชา มิตรสุวรรณ อิสรชนผู้รักความเป็นธรรม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ภาวิณี ชุมศรี เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ปรีดา นาคผิว เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ศิริภาส ยมจินดา ประชาชน
วิทยา อาภรณ์
น.ส.สุรีรัตน์ นนทโชติ โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นางสายสม โกมลเสวิน โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
น.ส.ปาณิศา ขวัญเมือง โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นางสมจิตร์ รามนันทน์ โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายสมศักดิ์ เจริญศรี โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายไพบูลย์ บุณรอด โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายสมศักดิ์ เกศชนา โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
ครรชิต พัฒนโภคะ องค์กรเลี้ยวซ้าย
พัชณีย์ คำหนัก องค์กรเลี้ยวซ้าย
ยุพิน อิ่มดำ องค์กรเลี้ยวซ้าย
สมาภรณ์ แก้วเกลี้ยง สมัชชาสังคมก้าวหน้า
คมลักษณ์ ไชยยะ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ทัตธนนันต์ นวลมณี สมัชชาสังคมก้าวหน้า
รสา หิรัญฤทธิ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กมล ศุภวงศ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
บุญธิดา อาจารยางกูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
อุษากร เหมือนประยูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สุจีรา เพ็งญา สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สาธิต เลิศโชติรัตน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กีรประวัติ คล่องวัชรชัย สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชวลีย์ รัตนววิไลสกุล สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เขมนิจ เสนาจักร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
นรสิงค์ ศรีวิโรจน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กวิน ชุติมา นักกิจกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน
เขมนิจ เสนาจักร ประชาชน
บุหงา เสนาจักร ประชาชน
ปรินดา วานิชสันต์ ประชาชน
ชวลีย์ รัตนวิไลสกุล ประชาชน
ณัฐรัช ฐาปโนสถ มูลนิธิกระจกเงา
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข มูลนิธิกระจกเงา
อรรณพ นิพิทเมธาวี Webmaster ThaiNGO.org
ปฐมพร ศรีมันตะ ประชาชนและนักกิจกรรมธรรมดา
โชติศักดิ์ อ่อนสูง กลุ่มประกายไฟ
วิทยากร บุญเรือง ประชาชน
ใจ อึ๊งภากรณ์
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์
นางกสิณา สริจันทร์
นายสุรพล ปัญญาวชิระ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
จิรฐา ขอสูงเนิน
ประสงค์ สุวรรณโฉม
นิษฐกานต์ บุญศาสตร์
อรรคพล สาตุ้ม ศิลปินอิสระ
ประดิษฐ์ ดาวมณี ประชาชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ประชาชน
บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล ประชาชน
อัฐธาดา ชมสุวรรณ แรงงานไทยในต่างแดน
น.ส. ชญานี ขุนกัน
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
ภูมิวัฒน์ นุกิจ นักธุรกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
ธนกร มาณะวิท ประชาชน
พริสร์ สมุทรสาร
ฉันทนา วินิจจะกูล นักทำหนังสืออิสระ
ปรานม สมวงศ์ ประชาชน
ณภัทร สาเศียร ประชาชน
กานต์ ทัศนภักดิ์ ประชาชน
วุฒิไกร กลางทอง
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านเอชไอวี/เอดส์
Numnual Yapparat
นันทนีย์ เจษฎาชัยยุทธ์
ภัทชา ด้วงกลัด
ธนาวิ โชติประดิษฐ ประชาชน
ทิวสน สีอุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา คนงานในโรงงานทอผ้าย่านรังสิตปทุมธานี ประเทศสยาม
ทินกร ดาราสูรย์ ประชาชน
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ Thai Netizen Network
ปารัชนันท์ ภาวัตโภควินท์ ประชาชน
ประกีรติ สัตสุต ประชาชน
สมิทธ์ ถนอมศาสนะ ประชาชน
มินตา ภณปฤณ ประชาชน
อาณัติ สุทธิเสมอ ประชาชน
ชาตรี สมนึก นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศ เรืองดิษฐ์ ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
สคฤทธิ์ จันทร์แก้ว นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านการเมืองสิทธิมนุษยชน และ ศิลปินอิสระ
วาสิฎฐี บุญรัศมี ประชาชน
ชัชชล อัจนากิตติ ประชาชน
ศิโรฒน์ รัตนาภรณ์ นักศึกษาและนักเขียนบทความพุทธศาสนามหายานแนวมนุษยนิยม
ศรวุฒิ ปิงคลาศัย นักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โสฬสสา มีสมปลื้ม นศ.ปริญญาโท สตรีศึกษา มธ.
Pairat Pannara
จาพิกรณ์ เผือกโสภา นิสิตปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปาลิดา ประการะโพธิ์ นักเรียน
กัปตัน จึงธีรพานิช นิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มินตา ภณปฤณ ประชาชน